วันอาทิตย์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

รีวิว samsung Galaxy R


รีวิว Samsung Galaxy R น้องใหม่ แต่แรง
ในงาน Thailand Mobile Expo 2011 Showcase ตั้งแต่วันที่ 29 กันยายน - 3 ตุลาคมนี้ มีมือถือน้องใหม่ล่าสุดของ Samsung อีกหนึ่งรุ่นมาเปิดตัวและขายที่งานนี้ครั้งแรกในประเทศไทยครับ โดยมือถือรุ่นใหม่นี้เป็นระบบ Android และมีชื่อเรียกว่า "Samsung Galaxy R" 

ก่อนจะไปจับเครื่องจริง และซื้อหากันในงาน Thailand Mobile Expo นั้น ลองมาดูรายละเอียดแบบของมือถือ Samsung Galaxy R (GT-I9103) แบบเจาะลึกกันดีกว่าครับ 

Samsung Galaxy R นั้นถ้าจะนิยามคำจำกัดความของรุ่นนี้สั้นๆ ก็พอจะเรียกได้ว่า คือ Galaxy S II ที่มีการลดสเปกของเครื่องลงมานั่นเองครับ แต่ก็ไม่ได้ลดเยอะจนเกินไป เพราะยังคงความแรงไว้เช่นเคยครับ

สเปก

  • ซีพียู dual-core NVIDIA Tegra 2 ความเร็ว 1GHz
  • ชิปกราฟฟิก GeForce AP20Hจอ Super Clear LCD ขนาด 4.2 นิ้ว ความละเอียด 480x800 พิกเซล
  • หน่วยความจำ RAM 1GB, ROM 2GBความจุ 8 GB (เพิ่ม microSD ได้สูงสุด 32GB)
  • กล้อง ด้านหลัง 5 ล้านพิกเซล ออโต้โฟกัส, ไฟแฟลช LED, บันทึกวีดีโอ HD 720p, ด้านหน้า 1.3 ล้านพิกเซลวิทยุ FM, ช่องเสียบหูฟัง 3.5mm
  • GPS เป็นแบบ A-GPS
  • มีเซนเซอร์ทุกตัว ไปจนถึง Gyroscope
  • เชื่อมต่อ WiFi, Bluetooth 3.0, DLNA, microUSB
  • น้ำหนัก 135 กรัม, บาง 9.5 mm
  • รองรับ 3G HSDPA 900 และ 2100 MHz (เครื่องทดสอบที่ได้มารีวิวนั้นรองรับ 3G คลื่น 850MHz ด้วย แต่สเปกเขียนไว้ว่ารองรับแค่ 2 คลื่น ตรงจุดนี้ต้องเช็คดูเครื่องขายจริงครับ ว่ารองรับด้วยหรือไม่)
  • ระบบปฏิบัติการ Android 2.3.4 Gingerbread (ใหม่กว่า Samsung Galaxy S II ที่เครื่องศูนย์ไทยยังเป็น 2.3.3) ครอบด้วย TouchWiz 4.0
  • แบตเตอรี่ 1650 mAh

ฮาร์ดแวร์
หน้าตาของ Samsung Galaxy R นั้น มองด้านหน้าแทบจะเหมือนกันกับ Samsung Galaxy S II เลยทีเดียว จุดที่แตกต่างก็คือ จอภาพ, ปุ่ม Home (Galaxy R จะมีปุ่ม Home ยาวกว่า) และสีของกรอบด้านหน้า Galaxy R จะมีสีดำเข้มกว่า Galaxy S II ครับ



 ด้านหลังของ Galaxy R นั้นทำออกมาได้ดูดีทีเดียวครับ เป็นวัสดุลาย Metalic จับแล้วให้ความรู้สึกเหมือนกับว่าจับโลหะเลยทีเดียว ตรงจุดนี้หลายๆคนอาจจะชอบครับ




หน้าจอของ Galaxy R นั้นเป็นจอแบบ Super Clear LCD แบบเดียวกันกับที่ใช้ใน Nexus S, Galaxy SL ซึ่งก็ให้สีสันสวยคมชัด แค่นี้ก็สวยแล้วครับ แต่สีจะไม่เข้มและแสบตาเท่ากับ Super AMOLED Plus

 


ด้านหลังของ Galaxy R นั้นตรงส่วนท้ายจะมีลักษณะนูนออกมาครับ ไม่ได้ราบเรียบไปทั้งชิ้น 





ตรงบริเวณด้านบนเป็นช่องเสียบหูฟัง 3.5mm และที่เห็นเป็นร่องนั่นคือช่องสำหรับแกะฝาหลังออกครับ




กล้องหลักบริเวณด้านหลังเครื่อง ขนาด 5 ล้านพิกเซล พร้อมไฟแฟลช LED 




บริเวณด้านล่างเครื่อง ขีด 2 ขีดนั้นคือลำโพงครับ ส่วนด้านล่างสุดจะเป็นช่องเสียบ microUSB ครับ และไมค์ตัวที่หนึ่งสำหรับรับเสียงพูด



และเมื่อแกะฝาหลังออกมาจะเห็นช่องใส่ซิมการ์ดที่สามารถถอดเปลี่ยนได้ทันที ไม่ต้องถอดแบตเตอรี่ออก และช่องใส่ microSD ที่ต้องถอดแบตเตอรี่ออกถึงจะใส่ได้ครับ


ข้อแตกต่างภายนอก ระหว่าง Galaxy R และ Galaxy S II

จุดแรกอย่างที่บอกครับ บริเวณด้านหน้านั้น Galaxy R จะสีดำกว่า และ ปุ่ม Home ยาวกว่า จอก็จะเล็กกว่าหน่อยนึงครับ
 


ลองพลิกด้านหลังของ Galaxy R และ Galaxy S II มาเทียบกันดู
 
เทียบความบาง

 

ลองเทียบจอดูสักหน่อย จะเห็นว่า จอ Super AMOLED ของ Galaxy S II นั้นจะมีสีที่สดกว่า Super Clear LCD ของ Galaxy R ครับ

 

ยังไม่ชัดเรื่องจอใช่มั้ย เอาไปดูอีกรูปหนึ่ง



และอีกรูป



ซอฟต์แวร์ TouchWiz UI 4.0

 เนื่องจากว่าระบบปฏิบัติการ Android นั้น ผู้ผลิตแต่ละรายต้องการจะสร้างความเป็นเอกลักษณ์และตัวตนของมือถือที่ตนผลิตมา ซึ่ง Samsung ก็เลือกที่จะใส่ TouchWiz UI ไว้บน Galaxy R ครับ ซึ่งก็พัฒนามาจนถึง TouchWiz UI 4.0 แล้ว ซึ่งก็เหมือนกันกับที่อยู่บน Galaxy S II ครับ

หน้าตาของ TouchWiz UI 4.0 บน Galaxy R นั้นเป็นแบบนี้ครับ

    

    

หน้าตาของคีย์บอร์ดภาษาไทยใน Samsung Galaxy R ครับ เป็นคีย์บอร์ด 3 แถว ตรงจุดนี้ไม่ถูกใจก็สามารถหาดาวน์โหลดได้ตามใจชอบจากใน Android Market ครับ อาจจะใช้เป็น ManMan เหมือนรูปข้างบนก็ได้ครับ ส่วนรูปด้านซ้ายคือคีย์บอร์ด Swype ภาษาไทยของ Samsung ครับ 

   


สำหรับการใช้งาน TouchWiz UI 4.0 นั้น สามารถดูได้จากวีดีโอรีวิวด้านล่างนี้ครับ



 
 
GPS

GPS บน Samsung Galaxy R สามารถจับสัญญาณได้เร็วดีครับ ไม่เหมือนบน Galaxy S รุ่นแรกที่ออกมาใหม่ๆแล้วมีปัญหาเรื่อง GPS 


Multitouch 

สำหรับมัลติทัชบน Samsung Galaxy R นั้นรองรับได้ทั้งหมด 5 จุดครับ (ถ้าเป็น Galaxy S II จะรองรับ 10 จุด)



Benchmark Test

Samsung Galaxy R สามารถทำคะแนน benchmark จากโปรแกรม Quadrant ได้สูงมากทีเดียวครับ ได้คะแนนไปถึง 3432 คะแนนเลยทีเดียว ซึ่งทิ้งห่างมือถือ Tegra 2 ยี่ห้ออื่นๆไปไกลมากครับ



 แบตเตอรี่

เท่าที่ลองใช้งานดูประมาณ 4-5 วัน พบว่า Samsung Galaxy R นั้นสามารถใช้งานได้ยาวกว่า Galaxy S II ครับ ซึ่งก็น่าจะมาจากเฟิร์มแวร์ที่เป็น Android 2.3.4 ที่ใหม่กว่า และจอ Super Clear LCD ที่กินไฟน้อยกว่า Super AMOLED Plus ครับ แบตเตอรี่อยู่ได้ประมาณ 11-12 ชั่วโมงครับ


กล้อง

ตัวอย่างภาพถ่ายจากกล้อง 5 ล้านพิกเซลของ Galaxy R ไม่ได้ปรับแต่งใดๆครับ แค่ใส่ลายน้ำเข้าไปเท่านั้นเอง ลองพิจารณาเรื่องคุณภาพของภาพถ่ายกันเองดีกว่าครับ



 

 

 




สรุป


Samsung Galaxy R เป็นมือถือ dual-core ที่แรงทีเดียว และแรงที่สุดในหมู่ dual-core ที่ใช้ซีพียู NVIDIA Tegra 2 ด้วยครับ รุ่นนี้จะแพ้ก็แค่ Galaxy S II เท่านั้น ซึ่งถ้าใครที่สนใจรุ่นนี้ก็กำเงินไป 15,900 บาท ที่บูทของ Samsung ในงาน Thailand Mobile Expo ครับ 

โดย Samsung Galaxy R นั้นใช้งานง่ายครับ เหมาะสำหรับผู้ที่ซื้อมาใช้และไม่ต้องการความเยอะ อย่างพวก root , ลง custom ROM อะไรแบบนี้ ถ้าใช้รุ่นนี้จะลืมพวกนี้ไปได้เลย เพราะยัง root ไม่ได้ และไม่มี custom ROM ครับ ส่วนใครที่ต้องการตามที่บอกมาเมื่อกี้ข้ามไปซื้อ Galaxy S II ครับ



ข้อดี 

  • วัสดุด้านหลังดูดีกว่า Galaxy S II
  • เร็ว แรง
  • ซีพียู dual-core 
  • แรมให้มาเยอะ 1GB แน่ะ
  • ระบบปฏิบัติการใหม่กว่า Galaxy S II (เฉพาะเฟิร์มแวร์ศูนย์ไทย)
  • ขนาดจอใหญ่
  • จอสีสด 
  • TouchWiz UI 4.0

ข้อเสีย

  • จอไม่ใช่ Super AMOLED หรือ Super AMOLED Plus
  •  TouchWiz UI 4.0     
credit

รีวิว samsung Galaxy Y


[รีวิว] Samsung Galaxy Y สมาร์ทโฟนรุ่นเล็ก กับราคาเบาๆ น่าสัมผัส

เมื่อพูดถึงสมาร์ทโฟนจาก ซัมซุง ตระกูล Galaxy แล้ว ต้องบอกเลยว่า มีหลายรุ่น หลายราคา ให้เลือกซื้อกันอย่างมากมายเลยทีเดียว โดยระดับราคานั้น มีตั้งแต่ราคาสูงที่สุด อย่าง Samsung Galaxy Note ที่เป็นได้ทั้ง สมาร์ทโฟน และแท็บเล็ตในเครื่องเดียว จำหน่ายแล้วในราคา 22,900 บาท หรือรุ่นรองลงมา อย่าง Samsung Galaxy S II ที่มียอดจำหน่ายในตอนนี้อย่างถล่มทลายเลยทีเดียว
แต่สำหรับ ผู้ที่กำลังมองหา สมาร์ทโฟน รุ่นที่สเปคไม่สูง และราคาไม่แพงอยู่แล้วล่ะก็ ทางซัมซุง ได้เปิดตัว Samsung Galaxy Y ที่เจาะกลุ่มตลาดผู้ใช้ในกลุ่มวัยรุ่น โดย Samsung Galaxy Y นั้น มีดีไซน์ที่คล้ายกับ Samsung Galaxy Cooper แต่มีสเปคที่ต่ำกว่าเล็กน้อย พร้อมระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ 2.3 Gingerbread เหมาะสำหรับผู้ที่กำลังมองหาสมาร์ทโฟนเครื่องแรก ราคาไม่แพง และไม่ต้องการฟีเจอร์มากจนเกินไปนั่นเอง
แกะกล่อง สำรวจอุปกรณ์ด้านใน
ภายในกล่องของ Samsung Galaxy Y นั้น ประกอบด้วยอุปกรณ์ที่จำเป็นต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น microSD card ความจุ 2GB พร้อม SD adapter, สาย USB สำหรับโอนถ่ายข้อมูล และที่ชาร์ตแบตเตอรี่ ซึ่งอุปกรณ์ที่ขาดหายไปนั้น คือ หูฟัง แต่สำหรับ Samsung Galaxy Y ที่จำหน่ายในไทยนั้น มีหูฟังแถมมาให้ในกล่องอุปกรณ์ครับ (ขอบคุณผู้ใช้งานที่แจ้งข่าวครับ)
การออกแบบ
รูปลักษณ์ภายนอกของ Samsung Galaxy Y จะทำมาจากพลาสติกเสียส่วนใหญ่ ประกอบกับฝาหลัง สามารถป้องกันรอยนิ้วมือได้เป็นอย่างดี อีกทั้งขนาดกำลังเหมาะมือ รวมทั้งน้ำหนักเบาเพียง 97.5 กรัมเท่านั้น
Samsung Galaxy Y มีจอแสดงผลขนาด 3 นิ้ว (QVGA) แบบ TFT Capacitive Touchscreen ความละเอียด 240x320 พิกเซล ซึ่งการตอบสนองของหน้าจอ ถือว่าทำได้ดีพอสมควร
ด้านบนของจอแสดงผล ประกอบด้วย Proximity sensor สำหรับปิดหน้าจออัตโนมัติขณะสนทนา เพื่อประหยัดพลังงาน และลำโพงสำหรับสนทนาขนาดใหญ่ ส่วน Ambient light sensor สำหรับปรับแสงแบบอัตโนมัตินั้น Samsung Galaxy Y ไม่รองรับในจุดนี้ ซึ่งผู้ใช้งานจำเป็นต้องปรับระดับความสว่างของหน้าจอเอง
ด้านล่างของจอแสดงผล ประกอบด้วย ปุ่มเมนู (ซ้าย), ปุ่ม Home (กลาง) และปุ่ม Back (ขวา) โดยปุ่ม Home นั้น เป็นลักษณะปุ่มแบบ Hardware button ในขณะที่ 2 ปุ่มที่เหลือ เป็นแบบระบบสัมผัส หรือ Capacitive control เมื่อใช้งาน ปุ่มเมนู และปุ่ม Back นั้น จะมีแสงสว่างขึ้นมา และดับลงเมื่อไม่ได้ใช้งาน
ด้านขวาของตัวเครื่อง ประกอบด้วย ปุ่มเปิด-ปิด-ล็อคเครื่อง เพียงปุ่มเดียวเท่านั้น
ด้านซ้ายของตัวเครื่อง ประกอบด้วย ปุ่มปรับระดับเสียง และช่องสำหรับร้อยสายคล้องคอ
ด้านบนของตัวเครื่อง ประกอบด้วย microUSB port และช่องสำหรับหูฟังขนาดมาตรฐาน 3.5 มิลลิเมตร
ด้านล่างของตัวเครื่อง ประกอบด้วย ไมโครโฟนสำหรับสนทนา และช่องสำหรับเปิดแบตเตอรี่ที่ฝาหลัง
ด้านหลังของตัวเครื่อง ประกอบด้วย กล้องดิจิตอล ความละเอียด 2 ล้านพิกเซล และลำโพง ซึ่งฝาหลังนั้น ทำมาจากพลาสติกที่มีผิวขรุขระ สามารถป้องกันรอยนิ้วมือได้เป็นอย่างดี
แบตเตอรี่ Li-Ion ขนาด 1200mAh สามารถสนทนาได้นานถึง 6 ชั่วโมง (2G) และสแตนบายด์รอได้นาน 850 ชั่วโมง (2G) เลยทีเดียว
User Interface - TouchWiz
ถึงแม้ว่า Samsung Galaxy Y จะเป็นสมาร์ทโฟนระดับล่าง เนื่องจากมีราคาถูก และสเปคตัวเครื่องไม่สูง แต่สำหรับระบบปฏิบัติการแล้ว Samsung Galaxy Y นั้น ใช้ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ 2.3 Gingerbread พร้อม User Interface แบบ TouchWiz แต่เนื่องจากความละเอียดของจอแสดงผลไม่สูงมาก ประกอบกับหน้าจอขนาดเพียง 3 นิ้ว อาจจะทำให้การแสดงผลในบางเรื่อง มีข้อจำกัดบ้างเล็กน้อย
ในส่วนของ Notification area หรือการแจ้งเตือนต่างๆ นั้น ประกอบไปด้วย การตั้งค่าการใช้งาน Wi-Fi, Bluetooth, GPS, เสียง (Sound) และการหมุนของหน้าจอแบบอัตโนมัติ (Auto-rotation) ซึ่งในส่วนนี้ ขาดการรายงานในเรื่องของ การแสดงผลจากการดาวน์โหลด และอีเวนท์ต่างๆ
Widgets หน้า Homescreen นั้น สามารถเพิ่มได้สูงสุดถึง 7 หน้า ซึ่งผู้ใช้งาน เพิ่ม, ลด, จัดวางตำแหน่ง ของ Widgets ได้ตามใจชอบ อย่างไรก็ดี การมี Widgets มากจนเกินไป อาจจะทำให้ตัวเครื่องหน่วงได้ เนื่องจากความเร็วของระบบประมวลผลไม่สูงมากนัก ฉะนั้น Widgets ไหนที่ไม่ได้ใช้งาน ควรลบออกไปจะดีกว่าครับ อย่างไรก็ดี หน้า Homescreen บน Samsung Galaxy Y รองรับ Live Wallpapers ครับ
เมื่อตัวเครื่องเปิด แอพพลิเคชั่น มาใช้งานมากเกินไป สามารถจัดการกับแอพพลิเคชั่นต่างๆ ได้ ด้วย TouchWiz task manager ซึ่งการใช้งานก็เหมือนกับ ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์เวอร์ชั่นก่อนๆ เมื่อโปรแกรมไหนที่ไม่ได้ใช้งาน ก็ควรจะปิด เพื่อดึงหน่วยความจำ (RAM) ให้กลับคืนมานั่นเอง
ในส่วนของเมนูนั้น เป็นการจัดเรียงแบบ Vertical scrollable grid หรือการเลื่อนจากซ้ายไปขวา ขวาไปซ้าย โดยผู้ใช้งานสามารถจัดเรียงตำแหน่งไอคอนได้ตามใจชอบ อย่างไรก็ดี เมนูไม่สามารถใช้งานแบบ List view ได้ครับ
รองรับ Gmail application
Samsung Galaxy Y รองรับ Gmail application สำหรับผู้ใช้งาน Gmail ซึ่งเป็นโปรแกรมคู่กันกับระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ อย่างไรก็ดี การใช้งานในเรื่องการของพิมพ์อีเมล หรือตอบจดหมายนั้น จะทำได้ลำบากซักเล็กน้อย เนื่องจากหน้าจอมีขนาดเล็ก ยากต่อการกดนั่นเอง สำหรับผู้ที่มีอีเมลอื่น ที่นอกเหนือไปจาก Gmail อย่างเช่น Hotmail หรืออีเมลของบริษัท Samsung Galaxy Y ก็รองรับในส่วนนี้เช่นกัน (รองรับทั้ง POP และ IMAP)
รองรับฟังก์ชั่น Swype
สำหรับสมาร์ทโฟนที่มีหน้าจอขนาดเล็ก การพิมพ์ในแต่ละครั้ง ค่อนข้างทำได้ลำบาก และช้า ซึ่ง Samsung Galaxy Y ให้ผู้ใช้งานสามารถเลือกได้ 2 ระบบ คือ แบบ keypad ที่ผู้ใช้งานต้องพิมพ์เอง กับแบบ Swype ที่ช่วยประหยัดเวลาในการพิมพ์ไปได้มาก และเหมาะกับสมาร์ทโฟนหน้าจอขนาดเล็ก โดยวิธีการใช้นั้น เพียงแค่ลากนิ้วไปยังคำที่ต้องการพิมพ์ โดยที่ไม่ต้องลากให้ครบทุกตัว ระบบจะทำการสะกดคำให้อย่างอัตโนมัติเลยทันที อย่างไรก็ดี ฟังก์ชั่น Swype รองรับเพียงบางภาษาเท่านั้น
เปิดดูภาพใน Gallery
สำหรับหมวด Gallery นั้น จะแสดงในลักษณะของ 3D และเอฟเฟ็กซ์การเปลี่ยนภาพที่แปลกตา ซึ่งสามารถขยายภาพถ่ายโดยใช้ฟังก์ชั่น Pinch-to-Zoom ได้ หรือการที่ปุ่ม +/- บนหน้าจอ อย่างไรก็ดี กล้องดิจิตอลบน Samsung Galaxy Y มีความละเอียดเพียง 2 ล้านพิกเซลเท่านั้น ซึ่งภาพที่ได้ อาจจะไม่คมชัดเท่าที่ควร
เปิดไฟล์วิดีโอ
ด้วยข้อจำกัดในเรื่องของฮาร์ดแวร์ ทำให้ Samsung Galaxy Y ไม่สามารถรองรับไฟล์วิดีโอความละเอียดสูงมาก อย่าง DivX หรือ XviD ได้ ซึ่งรองรับได้เพียงไฟล์นามสกุล 3GP หรือ MP4 เท่านั้น ส่วนโปรแกรมเล่นไฟล์วิดีโอก็ดูปกติ ธรรมดา ไม่มีอะไรพิเศษ
ฟังเพลงบน Music Player
โปรแกรมเครื่องเล่นเพลง สามารถแสดงรูปปกอัลบั้ม สามารถค้นหาเพลงจากชื่ออัลบั้ม ชื่อเพลง หรือชื่อนักร้องได้ อีกทั้งยังสามารถปรับเปลี่ยนด้วยแบบของเสียง ด้วยฟังก์ชั่น Equaliser ได้อีกด้วย
กล้องความละเอียด 2 ล้านพิกเซล และการถ่ายภาพวิดีโอ
สำหรับผู้ที่ชื่นชอบการถ่ายรูป และต้องการภาพที่มีความละเอียดคมชัด Samsung Galaxy Y อาจจะไม่ตอบโจทย์ในจุดนี้ เนื่องจากกล้องดิจิตอลด้านหลังตัวเครื่องนั้น มีความละเอียดเพียง 2 ล้านพิกเซลเท่านั้น ซึ่งเป็นความละเอียดระดับมาตรฐานบนสมาร์ทโฟนที่มีราคาไม่สูงมากนัก อีกทั้งไม่รองรับ Flash จึงทำให้ภาพที่ได้ ไม่ละเอียดเท่าที่ควร อีกทั้ง ฟังก์ชั่นการปรับแต่งภาพ ก็มีไม่มากเท่าสมาร์ทโฟนราคาแพงๆ
ส่วนการถ่ายภาพวิดีโอนั้น ได้คุณภาพสูงสุดแค่ระดับ QVGA เท่านั้น
การเชื่อมต่อและเครือข่าย
Samsung Galaxy Y รองรับบลูทูธเวอร์ชั่น 3.0 (A2DP) และ microUSB เวอร์ชั่น 2.0 นอกจากนี้ ยังรองรับเครือข่าย 3G คลื่นความถี่ 850/900/2100 MHz อีกด้วย (สำหรับเครือข่าย Truemove และ Dtac จะเป็นรุ่น i9100T ส่วนเครือข่าย AIS จะเป็นรุ่น i9100)
โปรแกรมเว็บเบราเซอร์
การเปิดหน้าเว็บไซต์บน Samsung Galaxy Y ถือว่า ทำได้ค่อนข้างช้า เนื่องจากระบบประมวลผลมีความเร็วที่ไม่สูงมาก อีกทั้งหน้าจอความละเอียดน้อย ทำให้การแสดงผลนั้น ไม่ดีเท่าที่ควร แต่สำหรับฟังก์ชั่นอื่นๆ บนหน้าเว็บ เช่น การบุ๊คมาร์ค หรือการซูมหน้าเว็บแบบ Pinch-to-Zoom สามารถทำได้ตามปกติ
Android Market เวอร์ชั่นใหม่
Samsung Galaxy Y รองรับ Android Market เวอร์ชั่นใหม่ ที่มีรูปแบบที่แตกต่างจากเวอร์ชั่นเดิม และง่ายต่อการใช้งาน นอกจากนี้ ยังมี section ใหม่อย่าง Editor’s choice และ Staff choices เพื่อเป็นทางเลือก ในการหาแอพพลิเคชั่นใหม่ๆ มาใช้งานอีกด้วย
นอกจากนี้ ยังมีการจัดอันดับแอพพลิเคชั่นประเภท Top Paid, Top Free, Top Grossing, Top New Paid, Top New Free และ Trending (แอพพลิเคชั่นที่เป็นที่นิยม) เพื่อเป็นทางเลือกในการใช้งานอีกเช่นกัน
สร้างและแก้ไขไฟล์เอกสารด้วย Quickoffice
โปรแกรมยอดนิยมสำหรับระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์อย่าง Quickoffice ก็มีมาให้บนตัวเครื่องเช่นกัน
ระบบนำทาง (GPS) เชื่อมต่อกับ Google Maps
อีกหนึ่งฟังก์ชั่นการใช้งานที่เป็นที่นิยมมากที่สุด ก็คือ การใช้ระบบนำทาง หรือ GPS ซึ่งค้นหาเส้นทางโดยผ่านระบบดาวเทียม ในขณะที่ ฟังก์ชั่น A-GPS จำเป็นต้องใช้การเชื่อมต่อผ่านทางอินเทอร์เน็ต
บทสรุป
สำหรับสมาร์ทโฟนในตระกูล Galaxy ที่มีคุณสมบัติ และราคาใกล้เคียงกับ Samsung Galaxy Y นั้น ก็คือ Samsung Galaxy Mini ที่มีขนาดหน้าจอใหญ่กว่า Samsung Galaxy Y เพียงเล็กน้อย และกล้องดิจิตอลความละเอียด 3.2 ล้านพิกเซล ซึ่งละเอียดกว่า สำหรับผู้ที่กำลังลังเลว่า ระหว่าง 2 รุ่นนี้ ควรจะซื้อรุ่นไหนดี เนื่องจากราคาไม่แตกต่างกันมาก ในจุดนี้ ควรจะต้องสอบถามตัวเราเองก่อนครับว่า จะใช้การใช้งานในด้านใดมากที่สุด ถ้าหากชอบการถ่ายรูป ควรจะเลือก Samsung Galaxy Mini ครับ เพราะมีกล้องที่ชัดกว่า แต่ถ้าหากชอบการใช้งานในด้านอินเทอร์เน็ต ควรเลือก Samsung Galaxy Y เนื่องจาก ระบบประมวลผลเร็วกว่านั่นเองครับ

credit

รีวิว Samsung Galaxy Nexus


หลังจากที่ได้ประกาศเปิดตัวไปเมื่อปลายเดือนตุลาคม Samsung Galaxy Nexus มือถือน้องใหม่ในครอบครัว Nexus ซึ่งเป็นตระกูลมือถือที่กูเกิลเลือกที่จะมีส่วนร่วมในขั้นตอนการออกแบบ โดยมีจุดประสงค์ที่จะเป็นอุปกรณ์กำหนดมาตรฐานให้กับผู้ผลิตมือถือที่จะใช้ระบบปฏิบัติการ Android เวอร์ชั่นหลักตัวใหม่
ในครั้งนี้ซัมซุงได้ถูกเลือกให้เป็นผู้ผลิตมือถือตระกูล Nexus ให้กับกูเกิลอีกครั้ง หลังจากที่เคยผลิต Nexus S ให้กับกูเกิลเมื่อปลายปี 2010 มาแล้ว โดยในครั้งนี้ ซัมซุงได้ตัดสินใจที่จะมอบชื่อ Galaxy ตระกูลสมาร์ทโฟนชื่อดังของซัมซุงให้เจ้ามือถือตัวนี้ด้วย ตามสโลแกนแล้ว Galaxy Nexus เป็นมือถือที่ "ดีกว่าด้วยการเอาสองสิ่งที่ดีอยู่แล้วมาปนกัน" คือเมื่อสมาร์ทโฟนคุณภาพของตระกูล Galaxy มาเจอกับระบบปฏิบัติการใหม่ Android 4.0 หรือที่เรียกกันว่า Ice Cream Sandwich ก็เปรียบเสมือนกับการกินโอรีโอ้แล้วจุ่มนม หรือการอ่านหนังสือพิมพ์ไปกับการจิบกาแฟร้อน ๆ ซักแก้ว
*หมายเหตุ: รีวิวนี้ผมตัดสินใจเขียนขึ้นโดยเน้นจะให้ข้อมูลตามความรู้สึกจากการใช้งานจริงมากกว่าข้อมูลทางเทคนิค และอธิบายในสิ่งที่ผมไม่เห็นรีวิวจากเว็บอื่นเน้นหรือพูดถึงไปแล้ว โดยผมขอแนะนำให้เข้าไปอ่านข่าวเก่า หรือรีวิวจากเว็บEngadget และ The Verge ที่มีรูปสวย ๆ และวีดีโอการใช้งานให้ดูครับ
ในตอนนี้ Galaxy Nexus วางขายแล้วในยุโรป เครื่องที่ใช้ในการรีวิวนี้มาจากประเทศอังกฤษ ราคาประมาณ 21,800 บาทสำหรับรุ่นความจุ 16GB รวมค่าขนส่งและภาษีแล้ว สำหรับประเทศไทยก่อนหน้านี้มีรายงานว่าก่อนสิ้่นปีนี้มีขายแน่นอน (และคงถูกกว่านี้ด้วย T^T)
Package
ฮาร์ดแวร์
เมื่อเห็นหน้าตาของ Galaxy Nexus แล้วจะบอกได้เลยว่าแทบจะไม่ต่างจาก Nexus S ที่ถูกรถทับแบนมา (เพราะมันบางกว่าแต่กว้างและยาวขึ้น) หน้าตาโดยรวมอื่น ๆ ใกล้เคียงกับ Nexus S มาก หน้าจอขนาด 4.65 นิ้วที่มากับเครื่องเป็นหน้าจอ HD Super AMOLED ของซัมซุงที่ให้สีสันสดใสแต่ไม่เกินจริงเหมือนกับ Galaxy S II
Overview
ด้านหน้าของตัวเครื่องไม่มีปุ่มใด ๆ ทั้งสิ้น ปุ่มทั้งหมดกลายเป็นส่วนหนึ่งของหน้าจอแสดงผลแทน คล้าย ๆ กับแท็บเล็ตที่รันระบบปฏิบัติการ Android 3.0 หรือ Honeycomb บริเวณกระจกด้านหน้าของตัวเครื่องไม่ใช่ Gorilla Glass อีกต่อไป แต่เป็น "กระจกแข็ง" ที่สามารถกันรอยขีดข่วนได้มากกว่ากระจกธรรมดาแต่ไม่มียี่ห้อ "Gorilla" ติดแล้วเท่านั้น บริเวณพื้นที่ว่างด้านล่างของหน้าจอจะมีไฟ LED เพื่อใช้ในการแจ้งเตือน ซึ่งมีประโยชน์มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเราสามารถกำหนดสีของไฟในการแจ้งเตือนในแต่ละแอพ (ผมใช้โปรแกรม Light Flow)
 front and bottom
ตำแหน่งของปุ่มต่างบริเวณขอบด้านข้างของตัวเครื่องได้แก่ปุ่มเพิ่ม-ลดระดับเสียงที่จะอยู่ขอบด้านซ้ายบน ปุ่ม Sleep/Wake จะอยู่ด้านขวา ส่วนช่องเสียบสาย micro USB จะอยู่ตรงกลางบริเวณก้นของตัวเครื่อง โดยมีช่องเสียบหูฟังอยู่เยื้องไปทางขวา
ฝาด้านหลัง มีไมโครโฟนตัวที่สองอยู่ด้านขวาบนเพื่อการตัดเสียงรบกวนขณะสนทนา (เป็นรูเล็ก ๆ อาจจะมองหายากในภาพนี้)
 at the back
ภายในฝาด้านหลัง ถาดใส่ซิมการ์ดขนาดปกติ และแบตเตอรี่ที่มีเสาอากาศ NFC ติดมาด้วย
 under the back cover
โดยรวมแล้ววัสดุภายนอกต่าง ๆ ที่ถูกนำมาใช้ไม่ได้มีปัญหาอะไร แต่เมื่อเปรียบเทียบกับวัสดุที่คู่แข่งอย่าง HTC หรือ Nokia N9 เอามาใช้แล้วจะรู้สึกว่าด้อยกว่าอย่างชัดเจน แต่เมื่อลองถือในมือจริง ๆ แล้วจะรู้สึกได้ว่าตัวเครื่องมีความแข็งแรงทนทานแม้ว่ามันจะบางและเบา
เปรียบเทียบขนาดกับ HTC Sensation (กลาง) และ iPhone 4 (ขวา/ล่าง)
 size comparison  thickness comparison
ซอฟต์แวร์
Galaxy Nexus เป็นมือถือตัวแรกที่วางขายพร้อมกับระบบปฏิบัติการ Android 4.0 หรือ Ice Cream Sandwich (ICS) โดยระบบปฏิบัติการเป็นแบบ Pure Google หรือว่าง่าย ๆ ว่าไม่มีการเพิ่มอินเทอร์เฟซของผู้ผลิต ผู้ให้บริการเครือข่าย หรืออย่างอื่น ๆ ใด ทำให้การใช้งานต่าง ๆ พอจะพูดได้ว่าเป็นประสบการณ์การใช้งานจากกูเกิลโดยตรง
ล็อคสกรีนและ Launcher
หน้าจอล็อคสกรีนใหม่ถ้าหากไม่ตั้งรหัสหรือ Pattern แล้วผู้ใช้งานจะสามารถเข้าถึงกล้องและ Notification Bar ด้วยการเลื่อนนิ้วจากด้านบนลงมาได้โดยไม่ต้องผ่านมาที่หน้า Home Screen อีกต่อไป นอกจากนี้กูเกิลยังได้เพิ่ม Face Unlock ที่ทำให้ผู้ใช้งานสามารถปลดล็อคเครื่องได้ด้วยการใช้หน้าตัวเอง (หรือภาพของตัวเอง) ไม่ว่าอย่างไรก็ตามจากการทดลองใช้งานแล้วส่วนตัวต้องบอกว่ามันเสียเวลามากกว่า และ 50% ของการใช้งานสุดท้ายผู้ใช้จะต้องกลับมาใช้ Pattern Lock อยู่ดี ถ้ามุมกล้องไม่ถูก หรือแสงไม่เพียงพอ Face Unlock ก็ไม่สามารถใช้งานได้ครับ
Lock Screen Home screen
Launcher ของ ICS บน Galaxy Nexus ยังคงแบ่งช่องเป็น 4x4 แม้ว่าจอมันจะค่อนข้างใหญ่ก็ตาม ในตอนนี้เราสามารถสร้างโฟลเดอร์ได้แล้วในลักษณะเดียวกันกับ iOS คือการลากชอร์ทคัทสองตัวไปชนกัน ผู้ใช้สามารถเลือกที่จะเปลี่ยนชื่อโฟลเดอร์ได้ตามใจชอบเช่นเดียวกับบน iOS ส่วนสิ่งที่บางคน (ผม) อาจจะไม่ชอบก็คือแถบค้นหาที่จะอยู่ด้านบนของ Launcher ตลอดเวลา (ไม่ใช่ widget อีกต่อไป) แต่แถบค้นหานี้ทำงานได้ดีเยี่ยมกว่าระบบค้นหาบน Gingerbread มาก นอกจากจะเร็วกว่าแล้วยังสามารถค้นหาอีเมลบนเครื่องได้จริง ๆ ซึ่งบน Gingerbread สุดท้ายแล้วมันจะหาให้ผมไม่เจอเสียที
Home screen with folders Universal Search
ในส่วนของ App Tray ในคราวนี้กูเกิลได้จับรวม Widgets และแอพมาอยู่ในที่เดียวกัน หากเราเลื่อนเปลี่ยนหน้าไปเรื่อย ๆ จนถึงหน้าสุดท้ายของรายชื่อแอพแล้ว หน้าถัดไปจะเป็นรายชื่อ Widget ที่เรามีต่อทันที โดยในตอนนี้ Widget ที่ไม่ได้ทำให้สำหรับ ICS จะไม่มีพรีวิวให้ดูเหมือนในภาพ แต่จะมีเป็นแค่ไอคอนและตารางแสดงขนาดของ Widget นั้น ๆ เท่านั้น ด้านขวาบนจะมีปุ่มที่จะพาเราไป Android Market
กูเกิลได้เปลี่ยนมาใช้ปุ่ม soft button ที่เป็นส่วนหนึ่งของหน้าจอแสดงผลเช่นเดียวกับที่เราได้เห็นกันบนแท็บเล็ตต่าง ๆ ที่รันระบบปฏิบัติการ Android 3.0 หรือ Honeycomb โดยหนึ่งในปุ่มที่โผล่ขึ้นมาใหม่ซึ่งมาจาก Honeycomb ก็คือปุ่ม Task Switcher ซึ่งทำให้เราสามารถสลับเปลี่ยนมาใช้แอพต่าง ๆ ที่ยังทำงานอยู่ได้ ทำให้การใช้งานหลายแอพในเวลาเดียวกัน (มัลติทาสกิ้ง) สามารถทำได้สะดวกกว่าเดิม ที่ต้องกดปุ่ม Home ค้างไว้เพื่อสลับไปมาระหว่างแอพ หลาย ๆ คนอาจจะตั้งข้อสังเกตว่าปุ่ม "เมนู" เดิมนั้นหายไปไหน บน ICS เช่นเดียวกับ Honeycomb แอพต่าง ๆ จะต้องทำการ "สร้างปุ่มเมนู" ให้กับผู้ใช้ใหม่บนอินเทอร์เฟสของแอพตัวเอง (ปุ่มนั้นคือปุ่มสี่เหลี่ยมสามก้อนเรียงกันเป็นแนวตั้ง) กรณีที่แอพไหนยังไม่ได้สร้างปุ่มนี้ไว้ ข้าง ๆ ปุ่ม Task Switcher จะมีปุ่มนี้โผล่มาให้เอง (โปรดดูสกรีนช็อท Twitter ด้านขวา)
App Tray  widgets Multitasking Pane Keyboard
Dialer และ People
จะสังเกตได้ชัดเจนจาก Dialer บน Galaxy Nexus เลยว่ากูเกิลเริ่มหันมาใช้โทนสีฟ้าเลเซอร์แบบ TRON มากขึ้นบน UI ผมอาจจะพูดอะไรมากไม่ได้เพราะผมไม่เคยได้มีโอกาสใช้ Dialer อื่น ๆ บน Android นอกเสียจากของที่มาให้กับ HTC Sense สำหรับตัวนี้ผมว่าที่ผมชอบคือมันทำการแตกตัวเลขให้ (เช่น 022222222 จะแสดงผล 02 222 2222) อย่างอื่น Dialer ตัวนี้ก็ไม่ได้วิเศษอะไรมากนัก
ในส่วนของหน้าตา "People App" แอพที่มาแทนที่ Contacts ใหม่นี้ Matias Duarte ผู้รับผิดชอบเรื่องประสบการณ์การใช้งานของผู้ใช้ Android ได้ออกมาพูดที่งานเปิดตัว ICS และ Galaxy Nexus ไว้ว่า "คนต้องการ Android, คนชอบ Android แต่ไม่มีใครรัก Android” ก็เพราะเนื่องจากมันขาดเอกลักษณ์ของตัวเองในหลาย ๆ ด้าน People App เป็นผลงานที่เกิดจากความพยายามให้ผู้ใช้ "รู้สึก" ถึงความเป็น Android ผ่านทางสร้างความรู้สึกให้เหมือนเปิดตอนเราเปิดดูแม็กกาซีน ที่เรามักจะพบตัวหนังสือสวย ๆ และภาพโต ๆ ซึ่งนอกจาก People App แล้ว โทนสีสว่าง ๆ นี้ยังถูกนำมาใช้ในแอพ GMail อีกด้วย
Dailer Contacts App
People App จะดึงเอาทวีตล่าสุด หรือสถานะล่าสุดของเพื่อน ๆ บน Twitter หรือ Google+ มาใส่ไว้ใต้ชื่อ เมื่อเรากดเข้าไปเข้าใน Contact Card ของเพื่อนเราคนนั้น ๆ แล้วเราเห็นกิจกรรมของเพื่อนของเราบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ต่าง ๆ ได้ด้วย น่าเสียดายที่ตอนนี้ Facebook ยังไม่สนับสนุนคุณสมบัตินี้ในตอนนี้
ปัญหาที่พบจากการใช้งาน People App ก็คือเรื่องรูปภาพ (Contact Photo) ซึ่งไม่ว่าเราจะเอารูปภาพขนาดใหญ่หรือละเอียดยิบแค่ไหนใส่ให้เพื่อนของเรา ก็ตาม เมื่อแอพทำการ Sync ข้อมูลกับเซิร์ฟเวอร์ของกูเกิลแล้ว รูปจะถูกลดขนาดลงมาเหลือเพียงแค่ 96x96 เท่านั้น ส่งผลให้ภาพต่าง ๆ เมื่อเรากดเข้ามาดูใน Contact Card แล้วแตกหมด เว้นแต่ว่าเราส่ังให้แอพทำการดึงภาพเพื่อนของเราคนนั้น ๆ จาก Google+ หรือ Twitter แทน
สำหรับมือใหม่ Android อย่างผม ผมยังไม่ชินที่จะเอา phonebook ที่มีเบอร์โทรมาปนกันกับเพื่อนบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ จึงได้เลือกให้ People แสดงเฉพาะเพื่อนที่อยู่ใน Google Contacts ของผมเท่านั้น (ภาพข้างบนขวา) แต่สำหรับผู้ที่ใช้ Android มานานแล้วคงไม่ต้องปรับตัวอะไรมาก (ภาพข้างล่างขวา: มีคุณชูวิทย์อยู่ใน contact list ก็รู้สึกแปลกดีเหมือนกัน)
Contacts App  pixelated picture Contacts App
Gallery
ไม่ต้องอธิบายมากมายสำหรับคุณสมบัติของแอพนี้ นอกจากแอพตัวนี้รับหน้าที่เป็น video player ไปในตัวด้วย ตัวแอพจะทำการเชื่อมต่อทั้งกับ Google+ และ Picasa Web Albums (จะเริ่มเห็นปัญหาว่ากูเกิลมีบริการทับซ้อนเยอะเหมือนกัน) ทำให้เราสามารถเห็นอัลบั้มภาพต่าง ๆ ของเราที่ฝากไว้กับที่นั้น ๆ ได้ด้วย แต่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงหรือลบรูปภาพอะไรบนนั้นได้ผ่านแอพนี้ เรายังสามารถตั้งให้โปรแกรมถ่ายรูปทำการอัพโหลดทุกรูปที่เราถ่ายขึ้นไปบน Google+ ได้ทันที เปรียบกับบน iOS ก็ไม่ต่างกับการอัพโหลดรูปขึ้น iCloud โดยอัตโนมัติ
Gallery App  Sharing Options  Editing photos
บน ICS กูเกิลได้ใส่พวกฟิลเตอร์ในการแต่งภาพต่าง ๆ มาให้พร้อม ถึงแม้ว่าจะไม่มีตัวเลือกให้มากเท่ากับบน Instagram ก็ตาม ในส่วนของการเล่นคลิปวีดีโอ ICS บน Galaxy Nexus สามารถเล่นคลิป 1080p ได้อย่างไม่มีปัญหา ยิ่งถ้าคลิปมีอัตราส่วน 16:9 แล้ว วีดีโอในโหมด landscape จะสามารถเล่นได้เต็มจอ แม้กระทั่งปุ่ม soft button ที่อยู่บนหน้าจอตลอดเวลายังต้องหลีกทางให้ (อธิบายสองภาพข้างล่าง: ภาพบนคือ HUD ตอนเราหยุดวีดีโอ ตอนวีดีโอเริ่มเล่น HUD จะหายไปเหลือเพียงแต่วีดีโอเท่านั้นในภาพล่าง)
 with HUD
 Fullscreen Video
แม้ว่าการใช้งานบนแอพและอินเทอร์เฟซส่วนใหญ่ของ ICS บน Galaxy Nexus จะลื่นมาก ๆ จนเรียกได้ว่าเทียบเท่า iOS บน iPhone 4 หรือ Windows Phone 7 ก็ตาม แต่สำหรับการใช้งานเลื่อนรูปภาพจากภาพหนึ่งไปยังอีกภาพหนึ่งด้วยการ swipe ซ้าย-ขวา ยังคงไม่ลื่นเหมือนจุดอื่น ๆ ในตัวระบบปฏิบัติการ อาการกระตุกมีให้เห็นอยู่บ่อยครั้ง โดยเฉพาะอย่างเมื่อเราทำการซูมภาพด้วยด้วยการ pinch-to-zoom ทำให้รู้สึกแปลก ๆ
เบราว์เซอร์
สำหรับเบราว์เซอร์ที่ติดตั้งมาให้พร้อมกับ ICS ต้องบอกว่าสามารถใช้งานได้ดีเลยทีเดียว การตัดคำภาษาไทยสามารถทำได้อย่างไม่มีปัญหา และการใช้งานทั่ว ๆ ไป เช่นการซูมเข้าออก การเลื่อนขึ้นเลื่อนลงของหน้าเว็บลื่นไหลมาก ความรู้สึกไม่ต่างจาก Safari บน iOS มาก
จากการทดสอบของ The Verge พบว่าเบราว์เซอร์ตัวนี้บน Galaxy Nexus ทำความเร็วได้ดีกว่า Safari บน iPhone 4S อีกด้วย แต่การเรนเดอร์บางอย่างยังมีปัญหา เช่น TypeKit และการทำงาน JavaScript บางอย่างก็มีปัญหาอยู่ แต่โดยรวมแล้วจากที่ผมได้เปรียบเทียบจากการใช้ Dolphin Browser กับ Opera บนเครื่องนี้ด้วยชัดเจนเลยครับว่าผู้ชนะเรื่องประสิทธิภาพคือเจ้าเบราว์เซอร์ตัวนี้ที่ติดมากับเครื่องล่ะครับ แต่เรื่องความสามารถอื่น ๆ ที่ไม่ได้มีอะไรมากมายนอกจากการเซฟหน้าเว็บเก็บไว้เพื่อดู offline ได้และก็การเปิดแท็บเล่นเว็บพร้อม ๆ กับได้ 10 กว่าหน้า อ้อ แล้ว ICS ตอนนี้ก็ยังไม่มี Flash Player ครับ
Browser App Browser App
การพิมพ์
Android Keyboard ใหม่ที่ติดมากับระบบปฏิบัติการสามารถทำให้เราพิมพ์ได้แม่นยำกว่าเดิมมาก ส่วนหนึ่งอาจจะมาจากหน้าจอที่ใหญ่ขึ้นทำให้การพิมพ์สะดวก แต่อีกส่วนหนึ่งก็มาจากระบบเดาคำที่เหมือนจะถูกปรับปรุงให้ใช้งานได้ง่ายกว่าเดิม สำหรับผู้ที่ชอบพิมพ์เร็ว ๆ แล้วหันกลับมาดูข้อความที่ตัวเองพิมพ์อีกทีแล้วพบว่าสะกดผิดทีหลัง แทนที่จะรีบกดลบทั้งประโยคเพื่อที่จะไปแก้ข้อความนั้นใหม่ ตอนนี้เราสามารถที่จะแค่ tap เบา ๆ บนคำที่สะกดผิด แล้วระบบจะมีคำที่น่าจะเป็นคำที่ถูกต้องให้เราเลือกเปลี่ยนตรงจุดนั้นได้ทันที
ในส่วนระบบ cursor เมื่อเราต้องการเลือกคำเพื่อที่จะแก้ไข, copy และ paste ก็ได้ถูกปรับปรุงให้ใช้งานได้ง่ายขึ้นกว่าเดิม แทนที่จะมีป็อปอัพเล็ก ๆ โผล่ขึ้นมาบริเวณจุดที่เราเลือก (ซึ่งจะบังข้อความอื่นที่อยู่บริเวณนั้น) บน ICS จะมีแถบโผล่ขึ้นมาบริเวณด้านบน/ล่างของจอให้เราเลือกสิ่งที่เราต้องการทำต่อไปแทน
Spelling fix Copy & Paste
สกรีนช็อทของแอพอื่น ๆ ที่มาพร้อมกับเครื่อง
แอพอื่น ๆ ที่ติดมากับเครื่อง ก็มีการปรับเปลี่ยนหน้าตาให้เข้ากับธีมของระบบปฏิบัติการเวอร์ชั่นใหม่นี้เช่นกัน สังเกตได้ชัดเจนที่สุดคือการเพิ่มแถบคำสั่งที่เราใช้บ่อย ๆ ขึ้นมาบนด้านบนหรือล่างของหน้าจอ และปุ่ม "เมนู" ที่จะอยู่ไม่ค่อยเป็นหลักแหล่งเสียเท่าไหร่ (บนบ้าง ล่างบ้าง ส่วนในแอพ Dialer กลับไปอยู่ด้านขวา)
Market App YouTube Maps  Music App
ประสิทธิภาพ
หลังจากที่ได้ใช้งาน Galaxy Nexus เต็ม ๆ มาสองสามวันแล้ว บอกได้เลยครับว่ามันเป็น Android ที่ลื่นมาก ในขณะที่แอพที่ติดให้มากับเครื่อง มีรูปร่างหน้าตาที่ "ดูดี" ไม่น้อยหน้าคนใช้ระบบปฏิบัติการอื่นอีกต่อไป (ยืดอก พก Android) แม้ว่าสเปคของเครื่องอาจจะไม่แรงตามทีี่คาดเอาไว้ก็ตาม แต่จากการใช้งานแล้วมันไม่มีปัญหาเลยครับ
ส่วนเรื่องการดูวีดีโอแรง ๆ ประเภท Full HD ต่าง ๆ สามารถทำได้ผ่านทาง Gallery App ได้อย่างไม่มีปัญหา แต่ MX Video Player ดูเหมือนว่าจะมีปัญหาในการทำงานบน ICS อยู่ทำให้ดูวีดีโอภาพกับเสียงไม่ตรงกันบ้าง ผู้ใช้ก็อาจจะพบปัญหาทางด้านการเข้ากันได้ของแอพกับระบบปฏิบัติการอีกเรื่อย ๆ จนกว่าผู้พัฒนาแอพจะเริ่มอัพเดตแอพของตัวเองให้สามารถใช้งานบน ICS ได้ แอพขาประจำอย่าง Facebook ก็มีปัญหาเรื่องปุ่มเมนูไม่ยอมโผล่มาบนหน้าจอ ส่วน Viber เองก็ไม่สามารถรันได้เลย เรื่องนี้คงต้อง "รอ" อย่างเดียวครับ
ในส่วนการใช้งานภาษาไทย พบว่าการตัดคำยังทำไม่ได้ในทุกส่วนที่ผมเจอ ยกเว้นบนตัวเบราว์เซอร์ และดูเหมือนว่าจะมี bug ในเรื่องของการแสดงผลตัวอักษรภาษาไทยใน GMail และในเบราว์เซอร์บางครั้ง ที่ตัวอักษรไทยจะมีขนาดใหญ่จนล้นบรรทัดของตัวเองออกมา
Thai Language bug on ICS
สรุปง่าย ๆ ปัญหาส่วนใหญ่ในตอนนี้ดูเหมือนจะเป็นปัญหาที่ตัวระบบปฏิบัติการกับการเข้ากันได้ของแอพต่าง ๆ ไม่ใช่ปัญหาของตัวเครื่องมือถือแต่อย่างใด เว้นแต่ระเบิดเวลาเรื่องคลื่นระบบกวน 900MHz ที่อาจจะทำให้เครื่องคิดว่ามีการกดปุ่มลดระดับเสียงลงรัว ๆ
การใช้งาน GPS และคลื่นมือถือ
Galaxy Nexus มีบารอมิเตอร์ในตัว ซึ่งกูเกิลบอกว่าบารอมิเตอร์นี้ถูกนำมาใช้ในการระบุพิกัด GPS ได้เร็วขึ้น การจับตำแหน่งจากที่ลองใช้ดูพบว่าเร็วใช้ได้ (เฉลี่ยไม่เกิน 20 วินาทีจะสามารถระบุตำแหน่งไม่เกิน 10 เมตรได้) การใช้งานสามจีก็รวดเร็วไม่มีปัญหา ส่วนเรื่องปัญหาระดับเสียงลดลงเอง ผมยังไม่พบปัญหาครับ แม้ว่าจะใช้ AIS ที่ใช้คลื่น 900MHz ก็ตาม แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นผมอยู่ตัวเมืองเชียงใหม่ ที่มีคลื่น 3G ของ AIS คงที่มาก ๆ ปัญหานี้ที่มักจะเกิดบนคลื่น 2G จึงยังไม่โผล่มาให้เห็น (รอลง กทม.​ อาจมีสนุก)
การใช้งานทั่วไปและแบตเตอรี่
เปลี่ยนจากเครื่องเก่า HTC Sensation มาใช้ Galaxy Nexus แม้ว่าตัวเครื่องจะสูงและกว้างกว่ามากก็ตาม แต่เมื่อได้จับในฝ่ามือแล้วความรู้สึกที่ได้ไม่แตกต่างมากนักซึ่งอาจจะเป็นเพราะว่าตัวเครื่องของ Galaxy Nexus บางกว่าเล็กน้อย การใช้งานด้วยมือเดียวไม่เป็นปัญหามากมายอะไร แต่หากจะต้องกดปุ่มที่อยู่ซ้ายสุดบนสุดของจอด้วยมือขวา หรือการเลื่อน Notifications Bar ลงมา อาจจะต้องใช้ความพยายามมากขึ้นกว่าปกติ (แต่รับประกันว่าง่ายกว่า Galaxy Note)
 Thickness  Screen Size, difficut to use?  Thickness vs. HTC Sensation
ข่าวดีสำหรับคนที่ชอบใส่กางเกง skinny jeans เจ้า Galaxy Nexus ไหลลงไปในกระเป๋ากางเกงได้อย่างสบาย ๆ บริเวณด้านล่างของเครื่องที่นูนขึ้นมาก็ทำให้การหยิบ/ดึง/กระชากมือถือออกมาจากกระเป๋ากางเกงคับ ๆ ก็ไม่ยากนัก
ส่วนข่าวร้ายสำหรับผู้ใช้ Galaxy Nexus คงหนีไม่พ้นแบตเตอรี่ 1,750 mAh ที่ไม่เพียงพอต่อการใช้งานปกติหนึ่งวันจริง ๆ ครับ แต่จากการใช้งานแล้วคิดว่าหน้าจอคือสิ่งที่กินแบตเตอรี่มากที่สุด เพราะในช่วงที่ไม่มีการเปิดมือถือมาใช้เล่น แบตเตอรี่แทบจะไม่ลดลงเลยแม้แต่น้อย
กล้อง
เรื่องกล้องนี้ต้องบอกเลยครับว่าน่าผิดหวังพอสมควร เมื่อเทียบกับ iPhone 4 หรือแม้แต่ HTC Sensation แม้ว่ากูเกิลจะภูมิใจอย่างมากกับระบบออโต้โฟกัสกับการถ่ายภาพที่เร็วมาก (ไม่มี shutter lag เลย) แต่พอมาถึงเวลาการใช้งานจริง ดูเหมือนว่าความสามารถที่ถ่ายภาพได้เร็วมากกลายเป็นว่าภาพที่ถ่ายมาเกือบ 60-70% มัวพอสมควรครับ ทั้งเวลากลางวันและกลางคืน สว่างหรือมืด ปัญหานี้ดูเหมือนจะมีตลอดเวลา นอกจากว่าจะใช้แสงแฟลชเข้าช่วยเมื่ออยู่ภายในอาคาร ซึ่งโดยปกติแล้วการถ่ายภาพด้วยมือถืออื่น ๆ ที่ผมเคยใช้ไม่ต้องใช้ความพยายามมากขนาดนี้เพื่อให้ได้ภาพที่คมชัด
นี่เป็นตัวอย่างภาพที่ผมถ่ายมาครับ
 Normal Indoors
 Macro
 Macro
 Low light condition
Camera Test
เมื่อ subject ของภาพมืดหน่อยแล้วไม่เปิดแฟลช กลายเป็นแบบนี้เลยครับ (Auto-focus ทำอะไรไม่ได้เลย)
 Total Failure at darker subjects
 better at bright subjects
วีดีโอ 1080p
สรุป
ข้อดี
  1. หน้าจอใหญ่ในระดับที่เหมาะสม ไม่สับสนว่าเป็นแท็บเล็ต ความละเอียดสูง สีสันสวยสดใส
  2. ประสบการณ์ Pure Google ไม่มี Bloatware หรืออินเทอร์เฟสของผู้ผลิตยัดมาให้ จะได้รับอัพเดตจากกูเกิลโดยตรงก่อนใคร และคาดว่าจะรองรับการใช้งาน Android เวอร์ชั่น Major Release ต่อไปเช่นเดียวกับมือถือตระกูล Nexus อื่น ๆ
  3. ตัวเครื่องดูเรียบหรู ไม่มีปุ่มให้เกะกะด้านหน้าที่เรียกได้ว่า Minimalist กว่าด้านหน้าเครื่องไอโฟนเสียอีก
  4. มีของเล่นอย่าง NFC กับ Notifications RGB LED มาให้
  5. รองรับเครือข่ายสามจีทุกค่ายในประเทศไทย
ข้อเสีย
  1. กล้องที่คุณภาพสู้กับมือถือคู่แข่งยุคที่แล้วอย่าง iPhone 4 ไม่ได้ การถ่ายให้ได้ภาพดี ๆ ยากมาก คนละระดับกับมือถือรุ่นท็อปอย่าง Galaxy S II, iPhone 4S หรือ HTC Rezound
  2. แบตเตอรี่ 1,750 mAh ที่ไม่น่าจะเพียงพอสำหรับการใช้งานปกติหนึ่งวัน
  3. ฝาหลังแบบเดียวกันกับ Galaxy Note ซึ่งปิดยากมาก
  4. ไม่มี SD Card และไม่รองรับการต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์แบบ USB Mass Storage ผู้ใช้แมคต้องลงโปรแกรมเพิ่มเพื่อโอนย้ายไฟล์
  5. แอพหลาย ๆ แอพไม่สามารถทำงานร่วมกับ Android 4.0 ได้อย่างเต็มที่ หรือไม่ได้เลย ทำให้ตัวเลือกในการใช้งานแอพ ณ เวลานี้ค่อนข้างจำกัด
ผมอาจจะไม่มีประสบการณ์การใช้ Android มากนัก แต่จากเท่าที่ได้ใช้งานมาสองสามวันนี้บอกได้เต็มปากเลยครับว่าผมเห็นด้วยกับรีวิวโดย Engadget และ The Verge ที่บอกว่า Galaxy Nexus เป็นมือถือ Android ที่ดีที่สุดในตลาดในตอนนี้ แต่ผมเชื่อว่าคำกล่าวนี้จะเปลี่ยนไปเมื่อเราได้เห็นมือถือสเปคท็อป ๆ จากค่ายต่าง ๆ เริ่มเปลี่ยนมาใช้ระบบปฏิบัติการตัวเดียวกันนี้อย่างแน่นอน
ในฐานะที่ผมใช้ไอโฟนมาตลอด การเปลี่ยนมาใช้ Android ในตอนแรกทำให้รู้สึกอึดอัดในหลาย ๆ เรื่อง เช่นความไม่ลื่นไหลของเมนูต่าง ๆ การ scroll ที่รู้สึิกผิดธรรมชาติ และหน้าตาของระบบที่พยายามดูแล้วอย่างไรก็รู้สึกมันขาดอะไรไปซักอย่าง แต่เมื่อเปลี่ยนมาใช้ Galaxy Nexus ที่รัน ICS แล้ว ผมบอกได้เลยครับว่าความรู้สึกนี้หายไปโดยพริบตา และกล้าบอกได้เลยครับว่า อนาคตของ Android รุ่งแน่ ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อผู้ใช้ไอโฟนเมื่อเปลี่ยนมาใช้ Android เริ่มรู้สึก "ไม่อยาก" กลับไปใช้ไอโฟนด้วยเหตุผลที่ว่าทุกสิ่งที่เราชอบบนไอโฟน Android ก็เริ่มทำได้แล้ว ส่วนในสิ่งเราชอบจาก Android ไอโฟนกลับยังทำไม่ได้ (สิ่งเดียวที่ผมยังตัดขาดไม่ได้คือ iPod ที่ยังไม่มีอะไรทดแทนได้ ต้องใช้แยกอยู่ดี)
ส่วนที่เหลือของประสบการณ์การใช้งาน Android คงต้องฝากให้นักพัฒนาแอพแล้วครับ
ขอบคุณที่อ่านจนจบครับ -*-
credit